พริกไทยดำ สรรพคุณ ประโยชน์และโทษของพริกไทยดํา
พริกไทยดำ มีสรรพคุณ เป็นยามานานแล้ว เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับ โรคที่ถูกนำไปรักษาส่วนใหญ่จะเป็น โรคกระเพาะ โรคลำไส้ แก้อาการปวด แก้อาการอักเสบ สรรพคุณพริกไทยดำ ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
พริกไทย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น พริกไทยดำ พริกน้อย พริกไทยล่อน เป็นต้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่บริเวณเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศอินเดียรวมทั้งเป็นผู้ผลิตหลักและเป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศเขตร้อน เช่น เวียดนาม บราซิล อินโดนีเชีย ซึ่งในไทยเองก็จัดเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นิยมปลูกกันมากที่จังหวัดจันทบุรี ตราดและระยอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกไทยดำ
- ลำต้น มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เป็นเถาเนื้อแข็งเป็นข้อๆ อายุยืน เจริญในแนวดิ่ง สูงได้ประมาณ 5-10 เมตร มีรากฝอยสั้นๆ ตามข้อเพื่อยึดเกาะและช่วยพยุงลำต้น
- ใบ เป็นใบเดี่ยวคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน หลังใบเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า
- ดอก ออกเป็นช่อ ประกอบด้วยดอกย่อยเล็กๆ จำนวนมาก
- ผล ทรงกลม แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดง อยู่ติดกันเป็นพวง หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด ผลแห้งสีดำ ผิวหยาบและมีรอยย่น เปลือกนอกสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ลอกได้ แต่ทางยานิยมใช้พริกไทยดำมากกว่าพริกไทยล่อน
สารสำคัญในพริกไทยดำ
ไพเพอร์รีน (Piperine) เป็นสารที่ทำให้มีกลิ่นฉุนและเผ็ดร้อน ช่วยลดไข้ อาการอักเสบ อการเจ็บปวดและฆ่าแมลงได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับไพเพอร์รีนพบว่ามีคุณสมบัติในการลดความอ้วน ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกิน สารอาหารอื่น เช่น โปรตีน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก เป็นต้น
พริกไทยดำ สรรพคุณ
ตามส่วนใบ ดอกและผลจะได้ดังนี้
- ใบของพริกไทยดำสามารถแก้จุก เสียด แน่น เฟ้อ ปวดมวนท้องได้
- เมล็ดของพริกไทยดำ ประมาณ 15-20 เมล็ด เมื่อนำมาบดให้ละเอียดและนำมาละลายน้ำแล้วดื่มให้หมด จะช่วยขับลม ขับเหงื่อ และเสมหะได้
- มีสารฟินอลิกส์ และพิเพนรีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการต้านสารอนุมูลอิสระ
- สารพิเพอรีน (Piperine) ในผลของเมล็ด มีส่วนช่วยในการรักษาและป้องกันอัลไซเมอร์ของคนแก่
- มีส่วนช่วยให้ตับสามารถทำลายสารพิษได้มากขึ้น
- แก้โรคลมบ้าหมูได้
- มีส่วนช่วยในการบำรุงธาตุของร่างกาย
- ช่วยให้คนแก่สามารถรับรู้รสชาติได้ดีขึ้น
- แก้อาการนอนไม่หลับได้
- สามารถสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายและช่วยให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น
- แก้อาการปวดฟัน
- ช่วยแก้อาการอาเจียนได้
- แก้ไข้ และมีส่วนช่วยรักษาโรคหวัดได้
- ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น
- กระตุ้นให้ร่างกายขับเหงื่อ
- แก้อาการอาหารไม่ย่อย
- แก้พิษจากตะขาบกัด ใช้ผงพริกไทยโรยบนบาดแผล
- วิตามินจากพริกไทยดำมสามารถป้องกันการทำลายผิวจากแสงแดดได้
- สามารถดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ได้
- ช่วยให้สามารถเก็บเนื้อสัตว์ให้ได้นานมากขึ้น
- น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยสามารถลดอาการอยากบุหรี่ได้
- สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้
- ดอกแก้ปัญหาเรื่องระบบย่อย แก้อาการอาเจียน และการได้รับพิษจากสัตว์ทะเลและเนื้อสัตว์
ผลข้างเคียงพริกไทยดำ
หลังจากที่เราได้รู้ถึงประโยชน์และสรรพคุณของพริกไทยดำแล้ว การรับประทานเข้าไปมากๆจะทำให้เกิดผลข้างเคียง นั่นคือท่านจะได้รับสารก่อมะเร็งไปด้วย ในพริกดำจะมีสาร”อัลคาลอยด์ ไพเพอร์ริน” ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม”เอนไนโตรโซไพเพอร์ริดีน” ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับไนโตรเจน การรับประทานในปริมาณมากๆ จะทำให้ท่านมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็ง อย่าเพิ่งตกใจ…หากท่านใช้พริกไทยดำเพียงแค่เป็นชูรสเท่านั้น ร่างกายสามารถขับออกมาเองได้ตามธรรมชาติ
ประโยชน์ของพริกไทยดำ : จาก วารสาร “เกษตรกรรมและเคมีอาหาร” ของสหรัฐอเมริกา นักวิจัยได้ค้นพบว่า พริกไทยดำมีสรรพคุณต่อต้านความอ้วน เนื่องจากมีสารไปเปอรีน ที่มีกลิ่นฉุนและมีรสชาติเผ็ดร้อน ที่สามารถขัดขวางไม่ให้เซลล์ไขมันใหม่ก่อตัวขึ้นได้ และ นักวิจัยของมูลนิธิวิจัยแห่งชาติเกาหลี กล่าวว่า พริกไทยดำ ใช้เป็นสมุนไพรในการแพทย์แผนโบราณตะวันออกมาหลายสิบปีแล้ว ซึ่งสามารถรักษาโรคกระเพาะและลำไส้ แก้ปวด แก้อักเสบและโรคอื่นๆ แต่แม้จะใช้มานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในอิทธิฤทธิ์ของมันในระดับโมเลกุล จึงได้พยายามค้นคว้าหาความรู้ในสรรพคุณทางการต่อต้านความอ้วน ในห้องทดลอง และแบบจำลองคอมพิวเตอร์ พบว่า มันออกฤทธิ์กับยีนซึ่งควบคุมการก่อตัวของเซลล์ไขมันใหม่ ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ระหว่างการเผาผลาญอาหารขึ้น ยังผลให้สกัดไขมันไว้ได้ พวกเขาเชื่อว่าผลการค้นพบคงจะทำให้ มีการนำสารสกัดจากพริกไทยดำมาใช้ในการต่อสู้กับโรคอ้วน
นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า พริกไทยดำ คุณสมบัติในการช่วยต่อต้านความอ้วน เนื่องจาก ในพริกไทยดำ มีส่วนประกอบของสารไพเพอร์รีน (piperine) ซึ่ง จะทีจุดเด่นในเรื่องของความฉุน และรสชาติที่เผ็ดร้อน ที่ช่วยในการควบคุมยีนส์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการก่อตัวของเซลล์ไขมันใหม่ให้ลดลง พร้อมกับทำลายเซลล์ไขมันเก่าที่สะสมอยู่ภายในร่างกายให้มีจำนวนน้อยลง
ผลที่ได้ก็คือ น้ำหนักตัวลดน้อยตามไปด้วย อวัยวะส่วนต่างๆ ที่เคยหย่อนคล้อยก็จะมีความกระชับเข้ารูปมากยิ่งขึ้น
พริกไทยดำ จะมีคุณสมบัติช่วยในการลดน้ำหนักดังต่อไปนี้
1. ช่วย กำจัดเซลล์ไขมันที่อยู่ในร่างกาย โดยทำให้เซลล์ไขมันเก่าที่สะสมอยู่ในร่างกายตาย พร้อมกับควบคุมการเกิดขึ้นใหม่ของเซลล์ไขมัน ทำให้ผอมลงและกลับมาอ้วนอีกยากขึ้น
2. ช่วย ทำให้ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญพลังงานที่ ได้รับจากการรับประทานอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเผาผลาญพลังงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกายซึ่งเป็นสำเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด ความอ้วนขึ้น
วิธีการใช้พริกไทยเพื่อลดน้ำหนัก
โดย ส่วนใหญ่แล้วการรับประทานพริกไทยดำเพื่อลดน้ำหนัก มักนิยมใช้การบรรจุพริกไทยดำป่นละเอียดรวมกับสมุนไพรอื่นๆไว้ในแคปซูล หรือทำการอัดเป็นเม็ดเพื่อให้สะดวกต่อการรับประทาน จากนั้นจึงค่อยกินเข้าไปเหมือนกับอาหารเสริม
การทำแคปซูลพริกไทยดำเพื่อใช้ในการรับประทานด้วยตัวเอง
สามารถ หาส่วนประกอบมาทำเองได้อย่างไม่ยากนักในราคาที่ถูก โดยเริ่มจากการหาซื้อแคปซูลเปล่า ซึ่งหาซื้อได้จากร้านขายยาโดยทั่วไป แล้วนำพริกไทยดำป่นละเอียดที่หาซื้อได้จากร้านขายยาแผนโบราณ แล้วนำพริกไทยดำมากรอกเข้าไปในแคปซูลให้เต็ม
จากนั้นให้นำมารับประทานก่อนการทานอาหาร ประมาณ 10 นาที โดยการรับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล แต่ห้ามทำการรับประทานหลังอาหารโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รู้สึกร้อน และมีอาการเรอ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียดและช่วยขับลม ใช้ผลบดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 0.5-1 กรัม ใช้ผงชงน้ำดื่ม รับประทาน 3 เวลาหลังอาหาร
โทษของพริกไทยดำ
1. พริกไทยเป็นพืชที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน การรับประทานมากไปส่งผลต่อปอดและระบบย่อยอาหาร ทำผิวหนังเป็นฝีและอักเสบง่าย คอบวมอักเสบบ่อย ร้อนในเป็นแผลในปากและฟันอักเสบ
2. ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงหากรับประทานมากไปอาจจะทำให้โรคริดสีดวงกำเริบได้
3. สารไพเพอร์รินหากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้
แต่ปกติแล้วเรารับประทานพริกไทยเพราะนำมาปรุงอาหาร ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่มากและไม่ส่งผลใดๆ ต่อร่างกาย
อ้างอิง วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดล